ลูกดื้อมาก ทำอย่างไรดี

เด็ก กับความดื้อ ความซน ถือว่าเป็นเรื่องปกติที่พ่อแม่ทุกคนจะต้องเจอตามแต่ละช่วงอายุ โดยความดื้อ ความซน ก็ได้ถูกแบบออกเป็นหลายระดับ จนบางครั้งพฤติกรรมต่อต้านของเด็กๆ มีความรุนแรงจนถึงขนาดสร้างความหงุดหงิด และท้อใจให้กับผู้ปกครอง จนมีคำถามเกิดขึ้นมาว่าทำไมลูกค้าเราถึงได้ดื้อ แล้วลูกของคนอื่นจะดื้อแบบนี้หรือไม่ ก่อนที่เราจะไปหาเหตุผล ควรต้องเรียนรู้เกี่ยวกับสาเหตุของพฤติกรรมเหล่านี้เสียก่อน เพราะถ้าหากเข้าใจ และรับรู้ได้ว่าพฤติกรรมเหล่านั้นบ่งบอก และแสดงออกถึงอะไร ก็จะทำให้สามารถรับมือกับความดื้อของลูกได้ถูกวิธี

พฤติกรรมของเด็กดื้อ และซน จะขึ้นอยู่กับปัจจัยใดบ้าง

1. ปัจจัยด้านอายุ : เป็นเรื่องธรรมชาติสำหรับเด็กเล็ก เพราะเป็นช่วงวัยที่กำลังเริ่มการเรียนรู้ เริ่มการสำรวจสิ่งรอบตัว โดยเฉพาะสิ่งที่ให้ความสนใจ ลักษณะดังกล่าวมักจะทำให้เด็กอยู่ไม่นิ่ง ไม่ทำตามคำสั่ง ส่งผลให้เมื่อถึงวัยเจริญเติบโตก็จะทำให้มีพฤติกรรม และความคิดเป็นของตัวเอง อาจจะทำให้มีลักษณธต่อต้าน เพราะเชื่อในเหตุผล และสิ่งที่ตนเองต้องการจะทำมากที่สุด

2. ปัจจัยด้านอารมณ์ : หากเด็กคนไหนที่มีพฤติกรรมชอบร้องไห้ตลอดเวลาตั้งแต่เด็ก มักจะปลอบยาก นอนยาก และกินยา พฤติกรรมเหล่านี้จะทำให้พ่อแม่มีความรู้สึกว่าเลี้ยงยาก ซึ่งจริงๆ แล้วเด็กแค่ยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนตัวเอง ปรับเปลี่ยนอารมณ์ได้ตามที่ผู้ปกครองคาดหวังเพียงเท่านั้น เพราะฉะนั้นพ่อแม่ควรปรับตัวเข้าหาเด็กก่อน และใช้ความเข้าใจในการพูดคุยถึงพฤติกรรมต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ

3. ปัจจัยด้านสติปัญญา : หากเด็กคนไหนที่มีพัฒนาการช้า ไม่ว่าจะในเรื่องการพูด การฟัง การใช้กล้ามเนื้อ การใช้ร่างกาย การเดิน และรวมไปถึงการเข้าสังคม ปัญหาเหล่านี้จะส่งผลโดยตรงในเรื่องของการปรับตัว การแก้ปัญหา การเข้าใจกับสถานการณ์ที่กำลังเผชิญ จะส่งผลทำให้เด็กดูมีปัญหาด้านพฤติกรรมมากขึ้นกว่าปกติ

เมื่อลูกดื้อมาก พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

1. ควรสื่อสารให้ตรงประเด็น มีการพูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมา ไม่ทีเล่นทีจริง ห้ามพูดอ้อมค้อม และต้องมีใจความที่กระชับเข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้ฟังสามารถเข้าถึงเหตุผลที่ต้องการสื่อสาร ซึ่งต้องให้แน่ใจก่อนว่าลูกมีสมาธิที่พร้อมจะรับฟังหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดการสื่อสารที่ผิดพลาด

2. ถ้าหากอยู่ในสถานการณ์ที่เด็กไม่พร้อมที่จะรับฟัง หรือเด็กยังไม่สงบพอที่จะอยู่นิ่งได้ พ่อแม่ควรต้องให้คำอธิบาย และทำความเข้าใจความรู้สึกของลูกก่อน เพราะการที่เด็กไม่รับฟัง และพร้อมที่จะขัดใจ มักจะมีเหตุผลเสมอ

3. ตั้งกติกาภายในครอบครัว โดยที่กติกาดังกล่าวทุกคนจะต้องมีส่วนร่วม และต้องทำตาม โดยที่จะตั้งขั้นมาตามความเหมาะสม ทั้งสภาพอารมณ์ และความรู้สึกเป็นหลัก ให้มองปัจจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมของลูกเป็นหลัก เพราะถ้าหากทำตามกติกาอย่างสม่ำเสมอก็จะทำให้เด็กมีการเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ต้องบังคับเลยนั่นเอง

การสร้างความสมดุลภายในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความรัก ความห่วงใย ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ การเอาใจใส่ การดูแลที่ดีจะทำให้เด็กมีพัฒนา และรับรู้ถึงความรู้สึกของพ่อกับแม่ได้ เพราะการที่เด็กมีความดื้อ มีความซน และต่อต้านจุดเริ่มต้นมักจะเกิดขึ้นมาจากการควบคุมอารมณ์ ถ้าหากป้องกัน และแก้ไขได้ จะส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาทั้งร่างกาย และสติปัญหาได้นั่นเอง